เหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีก
เหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีก
ตะแกรงเหล็กฉีก ที่พบเห็นกันในประเทศไทย หากเป็นตะแกรงเหล็กฉีกในตระกูล XS,XG,G แล้วล่ะก็ เราจะพบเห็นว่าตะแกรงเหล็กฉีกเหล่านั้นจะมีสีดำ ส่วนหากเป็นตะแกรงเหล็กฉีกตระกูลที่เป็นซี่ตะแกรงเล็กๆ ตาตะแกรงเล็กๆอย่างตระกูล CT แล้วล่ะก็ เรามักจะพบเห็นเป็นสีเงินเทาๆ ที่เราพบเห็นเป็นสีต่างกันนี้ ไม่ได้เกิดจากการนำตะแกรงเหล็กฉีกเหล่านั้นไปทำสีมาแล้วนะค่ะแต่เกิดจากสีของเนื้อเหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกเลยต่างหาก
ตามที่ได้แจ้งแล้วในขั้นต้นว่าเหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกจะแตกต่างกันตามตระกูลของตะแกรงเหล็กฉีกด้วย ดังนั้น เหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกจึงมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
1.เหล็กดำ(HR1 หรือ SPHC) – เป็นเหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกในตระกูล XS,XG,G เรียกว่าเป็นเหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกเป็นส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมคือมีความยืดหยุ่นได้ดี เหนียว ไม่เปราะ
2.เหล็กขาว(SPCC) – เป็นเหล็กที่ใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีกตระกูล CT เนื่องจากเหล็กขาวสามารถรีดออกมาเป็นแผ่นบาง 0.6 มม.ได้ และตะแกรงเหล็กฉีกตระกูล CT ไม่จำเป็นต้องฉีกให้มีขนาดตากว้างนัก จึงเหมาะสมที่จะใช้เหล็กขาว
การแบ่งประเภทเหล็กก็จะแบ่งตามกระบวนการผลิต นั่นคือ การรีดเย็น จะได้เหล็กขาว(สังเกตที่ชื่อหลังของเกรดเหล็ก SPCC- 2ตัวหลังคือ CC หมายถึง Cold Roll Carbon Steel Sheet) ส่วนการรีดร้อน จะได้เหล็กดำ(SPHC – 2ตัวหลังคือ HC หมายถึง Hot Roll Steel Sheet)
คุณสมบัติของเหล็กที่เหมาะสมในการใช้ผลิตตะแกรงเหล็กฉีก
ตะแกรงเหล็กฉีก ในตระกูล XS,XG,G นั้น จะต้องผลิตด้วยการฉีกถ่างเหล็กออกมาเป็นช่องตาตะแกรงที่ค่อนข้างกว้าง ซี่ตะแกรงไม่ใหญ่ มีพื้นที่เปิด(Open Area) ตั้งแต่ปานกลางถึงสูง ดังนั้นเหล็กที่นำมาใช้ทำตะแกรงเหล็กฉีกเหล่านี้จึงควรจะเป็นเหล็กเกรดที่มีความเหนียว ความยืดหยุ่นสูง เพื่อไม่ให้เกิดการแตกระหว่างการฉีกหรือการใช้งานนั่นเอง
ส่วนตะแกรงเหล็กฉีกในตระกูล CT นั้น จะเป็นตะแกรงเหล็กฉีกที่มีความหนาเพียง 0.6 มม.เท่านั้น ถือเป็นตะแกรงเหล็กฉีกที่บางมาก จึงต้องใช้เหล็กที่สามารถรีดออกมาให้บางขนาด 0.6 มม.ได้ในการผลิต