แนะนำการใช้สินค้าของ ONE SIAM

สุดยอดหน้ากากอาคารแห่งปี 6 อาคาร

                Siampeerless ขอนำเสนอผลงานต่างๆจากทาง Siampeerless ที่การันตีคุณภาพว่า ดีเยี่ยมแน่นอน เรามีงานนำเสนอให้คุณทั้งหมด 6 งาน

1.หน้ากากอาคารวัดสร้อยทอง

 

ตะแกรงเหล็ก  รุ่น G-10 SP

ขนาด                 4x8 ฟุต

ขนาดรู               15x50 มม.

ความหนา          1.6 มม.

สันตะแกรง        5 มม.

น้ำหนัก             24.9 กก.

ที่อยู่ ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 

ลักษณะทั่วไป เป็นอาคารสูง 6 ชั้น มีโครงสร้างคลุมทั้งตะแกรง ใช้ตะแกรงเหล็ก G-10 SP

ทำให้ตึกดูมีลักษณะเป็น สไตล์ Modern ซึ่งเป็นสไตล์ที่นิยมในปัจจุบัน โดยลักษณะเด่นของ สไตล์นี้ คือมีความเรียบง่ายและเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยการติดตั้งหน้างานนนั้น ต้องสร้างโครงเหล็กเพื่อเป็นฐานรับน้ำหนักขึ้นมาก่อน โดยเจ้าของเน้นความแข็งแรง และโครงที่ทำขึ้นนั้นมีลักษณะพิเศษที่ไม่ต้องทำโครงสร้างอาคารเพิ่มเติมเพิ่มที่จะมาฝังโครงใหม่แต่เป็นการเจาะโครงตึกเดิมแล้วผังโครงใหม่กับโครงเดิมที่เจาะ จากนั้นนำตะแกรงเหล็กมาติดีละแผ่นด้วย                                          เทคนิคต่างๆ ของช่าง

                               ทั้งนี้งานชิ้นนี้ สถาปนิก เพิร์ธ และทีมช่างจาก Siampeerless ได้มีโอกาส ในการเข้าไปขึ้นหน้างานและเช็คคุณภาพของชิ้นงาน

การทำพื้นผิวนั้นทางเจ้าของเองไม่ได้ทำพื้นผิวเพื่อป้องกันสนิม เพราะตัวตะแกรง G-10 SP นั้น เป็นตะแกรง อลูมิเนียม ซี่งเป็นโลหะที่ไม่เป็นสนิมแม้จะไม่ทำพื้นผิวก็ตาม โดยคุณสมบัติ ของโลหะอลูมิเนียมนั้น

มีจุดหลอมละลายที่ 660 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา รับภาระน้ำหนักได้สูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อรอยร้าว และการแตกหัก ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการนำมาผสมกับโลหะอื่นๆแล้วจะทำให้คุณสมบัติต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น จุกหลอมเหลวของอลูมิเนียมผสมจะอยู่ที่ 1140-1205 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงวัสดุหรือภาชนะที่เกี่ยวข้องกับอาหาร นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติทางเคมีของอลูมิเนียมในลักษณะต่างๆ ได้แก่

1. เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ เคลือบบนชั้นผิวอลูมิเนียมป้องกันการเกิดปฏิกิริยาอื่นๆได้ดี
2. การทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนจะทำให้เกิดไนไตรด์ที่อุณหภูมิสูง
3. ไม่ทำปฏิกิริยากับกำมะถัน
4. เมื่อทำปฏิกิิริยากับไฮโดรเจน ไฮโดรเจนจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นในของอลูมิเนียม จึงจำเป็นต้องกำจัดออก
5. สามารถทนต่อกรดอนินทรีย์เข้มข้นได้ปานกลาง
6. ทนต่อปฏิกิริยาของด่างได้เล็กน้อย สามารถละลายได้ในสภาวะที่เป็นด่างเข้มข้น
7. เกิดปฏิกิริยากับเกลือได้ ทำให้เกิดการกัดกร่อน

ด้วยคุณสมบัติเด่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้มีการนำอลูมิเนียมมาประยุกต์ใช้กับการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะวัสดุที่เรามักจะใช้ในชีวิตประจำวัน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการมีน้ำหนักที่เบามากของอลูมิเนียม และราคาที่ถูกมากจนช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะ

ลักษณะหน้ากากอาคารอื่นๆที่ใช้ตะแกรงเหล็ก G-10 SP

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก G-10 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก G-10 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก G-10 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern Loft

 

2.Viva condo

ตะแกรงเหล็ก รุ่น XS-32 SP

ขนาด                 4x8 ฟุต

ขนาดรู               12x30.5 มม.

ความหนา          1.6 มม.

สันตะแกรง        2.0 มม.

น้ำหนัก             12.45 กก.

ที่อยู่ คลองสาน กรุงเทพมหานคร 

ลักษณะทั่วไป สูง 8 ชั้น โดยมีห้องในโครงการทั้งหมดจำนวน 120 ห้อง สร้างเสร็จในปี 2012

ทำให้ตึกดูมีลักษณะเป็น สไตล์ Modern ซึ่งเป็นสไตล์ที่นิยมในปัจจุบัน โดยลักษณะเด่นของ สไตล์นี้ คือมีความเรียบ หรูโดยตัวตึกนั้น ก็เป็นการออกแบบสไตล์ Modern ทาง Siampeerless จึงได้ทำการออกแบบ ผลิต และติดตั้ง ตะแกรงหน้าต่างอาคาร โดยขึ้นกรอบและอบสีขาว หรือ Powder coating โดย วัตถุประสงค์ ของการทำบานปิดหน้าต่างนี้นั้น คือ ป้องกัน สัตว์ปีกเข้ามาอุจจาระ และป้องกันโจร ผู้ร้ายเข้ามาขโมยของ

                                โดยการไปติดตั้งหน้างานของงานชินนี้นั้น พบว่าหน้างานมีทางที่แคบไม่สามารถเอาบานขึ้นไปได้ จึงได้ใช้วิธีมัดชิ้นงานกับเชือกและดึงชิ้นงานขึ้นไปด้านบนห้องแทน ซึ่งเรียกไก้ว่าทางช่างต้องรู้จักแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า

การทำพื้นผิวนั้นทางเจ้าของเองได้เลือกทำพื้นผิวเป็นการอบสี หรือ Powder coating ที่จำทำให้ตัวตะแกรงนั้นมีความมัน วาว ดูมีราคา PowderCoat หรือ การพ่นสี ที่ตัวเนื้อสี จะมีลักษณะเป็นผงฝุ่น คล้ายแป้ง ( Powder Paint ) สามารถนำมาพ่น ให้เกิดสีสรรที่สวยงาม ทนทาน และมี กรรมวิธีการพ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง

ทำไมต้องเป็นสีผง

                                       สีอุตสาหกรรมที่สำคัญชนิดหนึ่งใช้เคลือบผิวของโลหะ และวัสดุบางอย่าง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ “สีอบ” เริ่มแรกสีอบจะอยู่ในลักษณะของที่ผสมกัน และแขวนลอยอยู่ในน้ำมันซึ่งเป็นสารทำละลาย (Solvent) แต่…สีอบน้ำมันมีปัญหาและข้อยุ่งยากหลายประการ จนถือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสีอบน้ำมัน ดังนี้คือ

-          มีส่วนของน้ำมัน (40-60% โดยน้ำหนัก) น้ำมันที่มักใช้มีคุณสมบัติไวไฟ ระคายเคืองเมื่อถูกผิวหนัง ไอระเหยของน้ำมันยังเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจเมื่อสูดดมนานๆ โดย เฉพาะสถานที่ทำงานที่ไม่มีระบบระบายอากาศดีพอ

 

-          การสูญเสียในการใช้งานสูงเนื่องจากมีเนื้อสีเพียง 40-60% (โดยน้ำหนัก)และต้องผสมกับน้ำมันอีกเพื่อปรับความข้นให้เหมาะสมกับงานพ่นสีแต่ละครั้ง เนื้อสีแท้ๆจะเหลืออยู่เพียง 25-40 % (โดยน้ำหนัก) นอกจากนั้นก็เป็นน้ำมันที่ระเหยไปหลังการพ่นสีที่ไม่ได้เกาะติดชิ้นงานไม่สามารถนำกลับหมุนเวียนมาใช้ได้อีก

 

-          ในงานที่ต้องการฟิล์มสีหนาประมาณ 60-300 ไมครอน จะต้องเคลือบทับหลายครั้ง เพราะในแต่ละครั้งจะมีเนื้อสีเคลือบได้เพียง 25-40 % เท่านั้น (โดยน้ำหนัก) หากจะเคลือบให้หนาในครั้งเดียวก็จะทำให้ฟิล์มสีย่น เพราะการระเหยของน้ำมันและการแห้งของเนื้อในฟิล์มสีช้ากว่าที่ผิวฟิล์มมาก

 

เพื่อขจัดปัญหาและข้อยุ่งยากของสีอบน้ำมัน จึงได้มีการคิดค้นสีชนิดใหม่และพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจนมาเป็น“สีผง” (Powder Coating) ซึ่งนับวันกำลังเข้ามามีบทบาท และทดแทนสีอบน้ำมันในวงการอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วดังที่เป็นอยู่ขณะนี้ใน ยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เป็นต้น

 

สีผงดีกว่าสีอบน้ำมันอย่างไร

-          สีฝุ่น ไม่มีไอ หรือ สารสารระเหย

-          สีฝุ่น ไม่มีกลิ่นฉุน

-          สีฝุ่น ไม่ค่อยสกปรก

-          สามารถพ่นแล้ว ได้ความหนา ถึงแม้จะ พ่นสีฝุ่น เพียงรอบเดียว

-          สีฝุ่นสามารถ ทนการขูดขีด และ รอยกระแทก ได้ดี

-          ให้ผิวสีที่แข็ง ทนต่อการขูดขีดและสารเคมี ป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่า

-          ยึดเกาะผิวชิ้นงานได้ดีกว่า เกาะได้ทั่วถึงทั้งบริเวณมุมและซอกต่างๆ

-          ผิวสีไม่มีรอยรูเข็มหรือรอยเดือด

-          ไม่ติดไฟได้ง่าย

-          ไม่มีอันตราย

-          ไม่ต้องการตัวทำละลาย เช่น พวก ทินเน่อร์ หรือ น้ำมันสน

-          ทนความร้อนได้สูง

 

ลักษณะหน้ากากอาคารอื่นๆที่ใช้ตะแกรงเหล็ก XS-32 SP

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก XS-32 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern Loft

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก XS-32 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็ก XS-32 SP ตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern

 

3.อาคาร Chanapatana

แผ่นเหล็กเจาะรู

หนา                   2 มม.

รู                        50 มม.

พีค                    42

องศา                 60 องศา

       ที่อยู่ อาคาร CIDI World : 44 ซอยปุณณวิถี 20 ถนนสุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10260

อาคาร Chanapatana  เป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เป็นผู้อำนวยการ ชื่อ "ชนาพัฒน์" ประพันธ์โดย พระพรหมมงคลญาณ(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ซึ่งหมายถึง พัฒนาประชาชน มีพันธกิจหลักคือ มุ่งพัฒนานักออกแบบไทยให้สามารถพัฒนาฝีมือการออกแบบให้มีความทัดเทียมและสามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติได้ ปัจจุบันสถาบันเปิดทำการสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) และ หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ (Interior and Product Design) โดยมีความร่วมมือทางวิชาการกับ 2 สถาบันชั้นแนวหน้าของโลก คือ สถาบัน NABA ซึ่งเป็นเจ้าของ Domus Academy เมือง Milan ประเทศอิตาลี และ ความร่วมมือทางวิชาการกับ Interior Design Program, Royal College of Art กรุง London ประเทศอังกฤษ ลักษณะของ อาคารนั้นเป็นอาคารสูงเรียบ สไตล์ Modern หน้ากากอาคาร ที่ทาง Siampeerless ได้ทำนั้น เป็นสไตล์ Modern เช่นเดียวกัน

                               โดยการติดตั้งและทำชิ้นงานของหน้ากากอาคารชิ้นนี้นั้น ค่อนข้างมีความซับซ้อน เพราะว่า แผ่นเจาะรูมีขนาดไม่เท่ากัน อีกทั้งยังเป็นอาคารที่สูงมาก

โดยแผ่นเหล็กเจาะรูนั้นมีขนาดรูที่หลากหลาย ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน แผ่นเหล็กเจาะรูนับเป็แผ่นโลหะเอนกประสงค์อีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถใช้งานได้ในหลากหลายแบบในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ในโรงสีข้าวก็ใช้ตะแกรงเหล็กเจาะรูเป็นรูกลมหรือรูสามเหลี่ยมในการคัดปลายข้าว หรือในอุตสาหกรรมตกแต่งภายใน ก็ใช้ตะแกรงเหล็กเจาะรูเป็นรูกลมหรือรูยาวในการตกแต่งทำบังตา เป็นต้น

             เนื่องด้วยความหลากหลายของการใช้งานตะแกรงเหล็กเจาะรูนี้เอง จึงทำให้การสั่งทำตะแกรงเหล็กเจาะรูต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนให้กับทางผู้ผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตตะแกรงเหล็กเจาะรูได้ออกมาตรงตามการใช้งานของลูกค้ามากที่สุด

โดยรายละเอียดที่ต้องเตรียมไว้แจ้งผู้ผลิตเบื้องต้นแบ่งได้ดังนี้

  1. ประเภทของวัตถุดิบ(แผ่น)และความหนา – สามารถเลือกแผ่นวัตถุดิบเป็นเหล็ก,สแตนเลสหรืออลูมิเนียมได้
  2. ประเภทของรู – ได้แก่ รูกลม,รูยาว,รูสามเหลี่ยม
  3. ขนาดของรู – โดยทั่วไปใช้หน่วยเป็น มิลลิเมตรและขนาดของรูห้ามต่ำกว่าความหนาของเนื้อวัสดุ มิเช่นนั้นจะปั๊มไม่เข้า 

                3.1 ตะแกรงเจาะรูกลม – ต้องบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแก่ผู้ผลิต

                3.2 ตะแกรงเจาะรูยาว – ต้องบอกขนาดความกว้าง,ยาวของรู แก่ผู้ผลิต

                3.3 ตะแกรงเจาะรูสามเหลี่ยม – ต้องบอกขนาดของด้านแต่ละด้านแก่ผู้ผลิต

  1. พิทของรู – พิท คือระยะห่างจากกึ่งกลางของรูหนึ่งไปยังกึ่งกลางของรูถัดไป พิทจึงแสดงความถี่-ห่างระหว่างรูที่ปั๊มลงบนแผ่น
  2. องศาของรู – หมายถึง การเรียงตัวของรูบนแผ่นตะแกรง จะให้เป็นไปในลักษณะใด เช่น

                5.1 รูตรง(90 องศา) – รูจะเรียงตรงเป็นแนวเดียวกันเป็นระเบียบทั้งแผ่น

                5.2 รูสลับ(45,60 องศา) – รูจะเรียงสลับฟันปลากันไปทั้งแผ่น

ทั้งนี้ ในการสั่งทำตะแกรงเหล็กเจาะรู อาจต้องมีการวาดแบบเพื่อยืนยันความเข้าใจให้ตรงกันก่อนสั่งผลิต

ลักษณะหน้ากากอาคารอื่นๆที่ใช้แผ่นเหล็กเจาะรู

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Popart

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Popart

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern Loft

 

4. อาคารเรียน ม.เทคโนโลยี ราชมงคล พระนครเหนือ

แผ่นเหล็กเจาะรู

หนา                   2 มม.

รู                        50 มม.

พีค                    42

องศา                 60 องศา

ที่อยู่ 1381 ถนน พิบูลสงคราม Wong Sawang ,Bang Sue ,Bangkok 10800

หนึ่งในอาคารเรียน ของ ม. เทคโนโลยี ราชมงคล พระนครเหนือ

                               ลักษณะของ อาคารนั้นเป็นอาคารสูงเรียบ สไตล์ Modern หน้ากากอาคาร ที่ทาง Siampeerless ได้ทำนั้น เป็นสไตล์ Modern เช่นเดียวกัน โดยอาคารนี้นั้นเป็นหนึ่งในอาคาร เรียนของ ม. เทคโนโลยี ราชมงคล พระนครเหนือ มีการใช้ แผ่นเหล็กเจาะรู หลากหลายสีเพื่อให้อาคารดูโดดเด่นยิ่งขึ้น โดยสีที่ใช้เป็นสีอุสาหกรรม

                               โดยหลังติดตั้งเสร็จ ทางสถาปนิก เพิร์ธ จาก Siampeerless นั้นก็ได้มีการไปตรวจหน้างานพบว่าหน้ากากอาคารใความเรียบร้อยดีไม่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้น ตัวแผ่น ติดเรียบเนียนและดูเป็นแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของช่างจาก Siampeerless

Façade คือ เปลือกอาคาร ที่ผู้ใช้งานจะพบเป็นสิ่งแรกก่อนเดินเข้าไปภายในอาคาร ซึ่ง Façade นี้สามารถสื่อถึงภาพลักษณ์และลักษณะการใช้งานภายในอาคารนั้นได้ มากไปกว่านั้นยังมี Façade บางชนิดที่ช่วยประหยัดพลังงานให้กับอาคารได้อีกด้วย

ฟาซาด (Facade) มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบด้านหน้าอาคาร หรือด้านหน้าและส่วนหน้า โดยปกติแล้วเรามักจะเรียก Façade ว่า เปลือกอาคาร โดยในแต่ละส่วนของเปลือกอาคารจะมีองค์ประกอบของงานทางสถาปัตยกรรมอยู่ด้วย เช่น ประตู หน้าต่าง ระเบียง ระแนง ชายคา เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบแต่ละอย่างจะเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละอาคารมีเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นต่างจากอาคารอื่น เพราะฉะนั้นสถาปนิกจึงมักจะออกแบบ Façade ให้เข้ากันกับภายในอาคารจนถึงบริบทรอบข้าง เพื่อสร้างความสวยงามและแรงดึงดูดให้กับผู้คนที่เดินผ่านไปมานั่นเอง

Façade เปรียบได้กับหน้าตาของแต่ละอาคาร ที่คอยต้อนรับผู้ใช้งานอยู่ก่อนเข้าไปในอาคาร โดยในสมัยก่อนการออกแบบเปลือกอาคารให้สวยงามจะยังไม่แพร่หลายมากเท่าทุกวันนี้ สถาปนิกมักจะนิยมออกแบบ Facade สำหรับอาคารพาณิชย์สูงเท่านั้น ต่อมาถึงได้มีการพัฒนา ออกแบบในอาคารรูปแบบต่างๆมากขึ้น ทั้งในโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร และที่พักอาศัย

นอกจากเรื่องความสวยงามของเปลือกอาคารแล้ว Façade ยังสามารถบอกได้ว่า ตึกที่เราเห็นนั้นคือตึกประเภทไหน เช่นการออกแบบ Façade ของโรงแรมและร้านค้าจะมีความต่างเพราะการใช้งานไม่เหมือนกัน

ลักษณะหน้ากากอาคารอื่นๆที่ใช้แผ่นเหล็กเจาะรู

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern Loft

 

การใช้เหล็กเจาะรูตกแต่ง

หน้ากากอาคาร สไตล์ Modern Loft

 

5.คอนโด สุขุมวิท 39

 

ตะแกรงเหล็ก รุ่น XS-32 SP

ขนาด                 4x8 ฟุต

ขนาดรู               12x30.5 มม.

ความหนา          1.6 มม.

สันตะแกรง        2.0 มม.

น้ำหนัก             12.45 กก.

ที่อยู่ ซอย สุขุมวิท 39 

ลักษณะทั่วไป คอนโดสูง 7 ชั้น

                               ทำให้ตึกดูมีลักษณะเป็น สไตล์ Modern Loft ซึ่งเป็นสไตล์ที่นิยมในปัจจุบัน โดยลักษณะเด่นของ สไตล์นี้ คือมีความเรียบง่ายและเป็นรูปแบบเดียวกัน อีกทั้งยังใช้วัสดุที่เน้นโชว์ตัว วัสดุจริง โดยตัวอาคารนั้น ใช้โทนสี ขาว และน้ำตาลเพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ โดยตั้งอยู่ใจกลางเมือง เน้นคนที่เข้ามาอยู่เป็นคนสมัยใหม่ หลายรูปแบบ

                               โดยทาง สถาปนิก เพิร์ธ และทีมช่างจาก Siampeerless ได้มีอโอกาสทำบานเฟี้ยมของโครงการนี้ โดยชิ้นงานของทางโครงการนี้นั้นได้มีการทำสี Powder coating สีขาวและสีน้ำตาล อีกทั้งยังเลือกใช้วัสดุติดตั้ง

ล๊อคประตูคุณภาพดีอีกด้วย ผมและทีมช่างได้มีการปรับชิ้นงานบานเฟี้ยมอยู่หลายครั้ง เพื่อให้บานเฟี้ยมได้คุณภาพตามมาตรฐานของ Siampeeless มากที่สุด

โดย บานเฟี้ยมนั้น เป็นประตูที่นำประตูบานเล็กมาต่อกันด้วยบานพับ โดยพับทบสลับกันไปรวมที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ทำให้สามารถเปิดประตูได้กว้างกว่าประตูรูปแบบอื่นๆ และสามารถเปิดได้สุด ทำให้ไม่เสียพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน

บานเฟี้ยมนิยมนำมาใช้ในการแบ่งพื้นที่สัดส่วนภายในบ้าน หรือเป็นฉากกั้นห้องภายในบ้านได้ เช่น กั้นห้องรับประทานอาหารและห้องนั่งเล่นออกจากกัน, ประตูจากห้องนั่งเล่นออกสู่ระเบียง เป็นต้น นอกจากนี้ ประตูบานเฟี้ยมยังสามารถนำมาตกแต่งบ้านให้บ้านดูสวย ทันสมัยได้ อย่างการเลือกสีของประตูบานเฟี้ยมสามารถบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของคุณได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าอยากให้บ้านดูโมเดิร์น มีความทันสมัย อาจจะเลือกเป็น สีดำและสีขาว หรือถ้าอยากให้สีบานเฟี้ยมดูมีราคาและไม่เหมือนใคร ก็จะมีสีพิเศษให้คุณเลือก อย่างเช่น สีไม้ สีดำซาฮาร่า สีพิ้งค์โกลด์ สีเทา เป็นต้นช่วยทำให้บ้านมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาทันที ได้ทั้งความสวยงามกลมกลืนควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย

บานเฟี้ยมมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. บานเฟี้ยมรางบน
เหมาะกับการใช้สอยภายในบ้าน เนื่องจากไม่มีรางล่างทำให้สามารถเดิน และขนย้ายของได้อย่างสะดวกสบาย ถ้ามีผู้ป่วยอยู่ในบ้านแล้วต้องใช้รถเข็น บานเฟี้ยมรางบนถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้

2. บานเฟี้ยมรางล่าง
สามารถใช้ได้ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน เนื่องจากราคาจะถูกกว่าบานเฟี้ยมรางบน บานเฟี้ยมรางล่างสามารถกันน้ำฝน กันแมลงไม่ให้เข้ามาในบ้านได้ ทำให้เหมาะกับการใช้ภายนอกบ้าน ตัวรางจะสูงขึ้นมา 1 cm.

ลักษณะบานเฟี้ยมอาคารอื่นๆที่ใช้ตะแกรงเหล็ก XS-32 SP

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำบานเซี้ยม

 สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำบานเซี้ยม

 สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำบานเซี้ยม

 สไตล์ Modern English

 

6.มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

 

ตะแกรงเหล็ก รุ่น XS-31 SP

ขนาด                 4x8 ฟุต

ขนาดรู               12x30.5 มม.

ความหนา          1.2 มม.

สันตะแกรง        1.5 มม.

น้ำหนัก              7.01 กก.

ที่อยู่ 114 ซอยสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ลักษณะทั่วไป

                               พ.ศ. 2547 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการประชุมครั้งที่ 5/2549 อนุมัติให้จัดตั้งขึ้น โดยในการจัดตั้งมีเจตนารมณ์ที่จะขยายบทบาทการสร้างดุลยภาพ ในเรื่องการสื่อสาร ( Communication and Media ) ในสังคมตลอดจนการสร้างและพัฒนาบุคลากร ที่สามารถควบคุมและเท่าทัน การเปลี่ยนแปลง ของ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทต่อสังคมและชีวิต บริเวณนี้นั้น เป็นออฟิต อาจารย์ที่นี้ เมื่อก่อนนั้นตอนยังไม่มี เฟรมนี้นั้น มีแต่สัตว์ปีกเข้ามาอุจจาระ ซึ่งสร้างความสกปรกและรำคาญใจให้ทางคณาจารย์ จนต้องติดกรอบตะแกรงเหล็ก เพื่อป้องกันสัตว์ปีกเหล่านี้

                                โดยตะแกรงที่นิยมนิมาทำเป็นฉากกั้นสัตว์ต่างๆนั้น จะนิยมใช้ตะแกรง รุ่น Series 3 ( XS-31SP, XS-32 SP และ XS-33 SP ) และ Series 4 ( XS-41SP, XS-42 SP และ XS-43 SP )

                                ทั้งนี้ ทีมช่าง และ สถาปนิก เพิร์ธ จาก Siampeerless กับสถาปนิก เพิร์ธ ก็ได้มีโอกาสไปติดตั้งหน้างานโดยงานนี้ต้องไปติดตั้งกรอบที่หน้างาน เพราะขนาดพื้นที่มีข้อจำกัดมากและมีงานระบบบางจุดึงต้องเลี่ยงที่จะติดตั้งเฟรมลงบนพื้นที่เหล่านั้น

ลักษณะบานเซี้ยมอาคารอื่นๆที่ใช้ตะแกรงเหล็ก XS-31 SP

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำเฟลมกันนก

 สไตล์ Modern English

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำเฟลมกันนก

 สไตล์ Modern

 

การใช้ตะแกรงเหล็กทำเฟลมกันนก

 สไตล์ Modern

 

 

 

 

 

Visitors: 273,193